|
|
|
ประชากรในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพวน
ที่อพยพมาจากเมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง
อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทร์
แต่เดิมบ้านทุ่งโฮ้ง เรียกว่า "บ้านทั่งโฮ้ง"
คำว่า "ทั่ง" หมายถึงทั่งที่รองรับการตีเหล็ก
คำว่า "โฮ้ง" เป็นภาษาไทยพวน |
|
|
|
หมายถึง สถานที่ ที่เป็นแอ่งลึกลงไปเป็นรูปก้นกระทะ "ทั่ง" เมื่อถูกตีเป็นประจำ จึงทำให้เป็นแอ่งลึกลงไป คนพวนว่า "มันโฮ้งลงไป" ในสมัยนี้คนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกบ้านเขาจึงเรียกว่า "บ้านทั่งโฮ้ง" ส่วนคำว่า "บ้านทุ่งโฮ้ง" คงเป็นคำที่เพี้ยนหรือมาเปลี่ยนภายหลัง |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลง
ฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 (สุขาภิบาลทุ่งโฮ้ง
จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาล
ทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่
จังหวัดแพร่ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2510
ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 84
ตอนที่ 125 |
|
|
|
ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2510) ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล ลงวันที่ 6 กันยายน 2547 โดยยุบองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโฮ้งรวมกับเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 102 ลงวันที่ 15 กันยายน 2547 |
|
|
|
|
|
สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 7 ถ.ยันตรกิจโกศล ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ 54000 มีพื้นที่ทั้งหมด 13.5 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม พื้นที่ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน โดยเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ตั้งอยู่ห่างจากตัว
จังหวัดแพร่ ประมาณ 3 กิโลเมตร |
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ |
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.แม่หล่าย อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.ทุ่งกวาว อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.ร่องฟอง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.แม่ยม อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
|
|
|
|
ต.แม่หล่าย อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
ต.แม่ยม อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
|
ต.ร่องฟอง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
ต.ทุ่งกวาว อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 6,147 คน แยกเป็น |

 |
ชาย 2,877 คน |
คิดเป็นร้อยละ 46.80 |

 |
หญิง 3,270 คน |
คิดเป็นร้อยละ 53.20 |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 455.33 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
บ้านทุ่งโฮ้งใต้ |
507 |
60 |
1,108 |
433 |
2 |
บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ |
5488 |
605 |
1,153 |
543 |
3 |
บ้านร่องถ่าน |
248 |
257 |
505 |
191 |
4 |
บ้านกอเปา |
426 |
456 |
882 |
549 |
5 |
บ้านทุ่งโฮ้ง |
445 |
530 |
975 |
482 |
6 |
บ้านทุ่งโฮ้ง |
376 |
472 |
848 |
404 |
7 |
บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ |
327 |
349 |
676 |
337 |
รวม |
2,877 |
3,270 |
6,147 |
2,939 |
|
|
ข้อมูลเดือนกันยายน 2558 |
|
|
|
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง
ประกอบอาชีพทางด้านเกษตร คือ มีรายได้
จากการทำนา
ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย
ผลผลิตทางการเกษตร การพานิชยกรรม
/การบริหารและการท่องเที่ยว นอกจากนั้น
มีรายได้จากอาชีพการตัดเย็บผ้าหม้อห้อม
การทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน
และบางส่วนมีรายได้จากการ
ประกอบอาชีพรับจ้าง ในตัวจังหวัดและต่างจังหวัด |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ
มีเส้นทางสายหลักเข้าสู่ชุมชน 2 เส้นทาง
ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101
(สายแพร่-ร้องกวาง) และถนนยันตรกิจโกศล
ในเขตเทศบาลมีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่ง
ได้แก่ ห้วยรากไม้ ห้วยหัวช้าง ห้วยร่องฟอง
ห้วยร่องม่วง เป็นต้น |
|
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศของเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน เป็นระยะที่ร้อนและแห้งแล้ง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ที่พัดมาจากบริเวณความกด อากาศสูงในทะเลจีนใต้ อุณหภูมิสูง มีฝนเล็กน้อย เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึง กลางเดือนมิถุนายน |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|